เมนู

6. ทรงคายภคธรรม


พระพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคาย
ภคธรรมเป็นอย่างไร ? คือ เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า แม้ครั้งยังเป็นพระ-
โพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ ได้ทรงคายขยอกทิ้งซึ่งสิริและอิสริยยศ
ที่เรียกว่า ภคะ อย่างไม่ใยดีเหมือนทรงบ้วนก้อนเขฬะทิ้งฉะนั้น. จริงอย่างนั้น
อัตภาพที่พระองค์ทรงสละสิริราชสมบัติอันเป็นเช่นกับราชสมบัติของเทวดาด้วย
อำนาจการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี กำหนดจำนวนไม่ได้ในชาติทั้งหลาย มีอาทิ
อย่างนี้ คือ ในคราวเกิดเป็นโสมนัสสกุมาร ในคราวเกิดเป็นหัตถิปาลกุมาร
ในคราวเกิดเป็นอโยฆรบัณฑิต ในคราวเกิดเป็นมูคปักขบัณฑิต (พระเตมีย์)
ในคราวเกิดเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม. แม้ในอัตภาพก่อน ๆ พระองค์ก็มิได้
สำคัญสิริจักรพรรดิราชสมบัติมีความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง 4 อันเป็นเช่นเดียว
กับความเป็นใหญ่ในเทวโลก และยศที่สง่างามด้วยรัตนะ 7 ซึ่งเป็นที่อาศัย
ของสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทีอยู่แค่เอื้อมว่า ยิ่งไปกว่าหญ้า ทรงละทิ้งไป
อย่างไม่ใยดี แล้วเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จนได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรมมีสิริ
เป็นต้น ดังพรรณนามาฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ภค เพราะ
เป็นเครื่องไป คือ เป็นไปสม่ำเสมอแห่งนักษัตรทั้งหลายที่ชื่อว่า ภา อัน
อาศัยโลกพิเศษซึ่งจำแนกเป็นภูเขาสิเนรุ ยุคันธร อุตตรทวีป กุรุทวีปและ
ภูเขาหิมวันต์เป็นต้น ชื่อว่า โสภา เพราะมีความตั้งมั่นตลอดกัป. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงคาย คือ ทรงละภคธรรม แม้เหล่านั้น ด้วยการละฉันทราคะ
อันปฏิพัทธ์ในภคธรรมนั้น เพราะก้าวล่วงซึ่งสัตตาวาสอันอยู่อาศัยภคธรรมนั้น.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ภควา เพราะทรงคายภคธรรมทั้งหลาย แม้ด้วย
ประการฉะนี้.

* ปาฐะ เป็นมูคผกฺก แต่ในชาดก เป็น มูคปกฺข แปลตามชาดก

พระสุคตพระนามว่า ภควา เพราะ
ทรงละจักรพรรดิสิริ ยศ อิสริยะ สุข
และการสะสมโลก.


7. ทรงคายภาคธรรม


พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง-
คายภาคธรรมเป็นอย่างไร ? คือ ชื่อว่า ภาคะ ได้แก่ โกฏฐาสทั้งหลาย.
โกฏฐาสเหล่านั้นมีหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น แม้ขันธ์
อายตนะ ธาตุเป็นต้นนั้น ก็มีโกฎฐาสหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์มีรูป
เวทนาเป็นต้น และด้วยอำนาจขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตัดขาดกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้าทั้งหมด (ปปัญจะ) กิเลสเครื่องประกอบ
ไว้ทั้งหมด (โยคะ) กิเลสเครื่องรัดรึง (คัณฐะ) ทั้งหมด กิเลสเครื่องผูกมัด
ไว้ทั้งหมด (สังโยชน์) ได้แล้ว จึงบรรลุอมตธาตุ ทรงคายขยอกทิ้งภาค-
ธรรมเหล่านั้นโดยมิทรงใยดี คือ ไม่เสด็จหวนกลับมาหาภาคธรรมเหล่านั้น.
จริงอย่างนั้น พระองค์ทรงคาย ขยอก สลัด ทิ้งส่วนแห่งธรรมทั้งหมดทีเดียว
โดยไม่มีส่วนเหลือ แม้ด้วยการจำแนกธรรมไปตามลำดับบทมีอาทิ คือ ปฐวี
อาโป เตโช วาโย ซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่งทีเดียว จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย มนะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส จักษุสัมผัสชาเวทนา ฯลฯ มโน-
สัมผัสชาเวทนา จักษุสัมผัสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสชาสัญญา จักษุ
สัมผัสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสชาเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา
รูปวิตก ฯลฯ ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจาร ทั่วถ้วนทุกอย่าง. สมจริง
ดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ ดังนี้ว่า อานนท์ สิ่งใดที่ตถาคตสละแล้ว คายแล้ว